วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21

 สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่21


1. ความสามารถในการสื่อสาร
 รับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษา รวมทั้งเลือกใช้และบูรนาการสื่อหรือเครื่องมือที่หลากหลายเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
วิเคราะห์ เลือกใช้ จัดการสื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ เช่น ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ในการสร้างชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ความสามารถในการคิด
 คิดวางแผนการทางานอย่างเป็นระบบ คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์แนวทางในการสร้างชิ้นงานได้อย่างมีขั้นตอน
4. ความสามารถในการแก้ปัญหา
 คิดวิเคราะห์ปัญหาถึงสาเหตุและวิธีการแก้ไข รวมถึงคิดแยกแยะประเด็นปัญหาในแง่มุมต่างๆ ในระหว่างการสร้างชิ้นงานได้

5.ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
 -มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในเชิงบวก รวมถึงสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 -มีความเชื่อมั่น กล้าตัดสินใจ แสดงความคิดในการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานและสามารถเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาได้

-สามารถสร้างชิ้นงานโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้อื่นและสังคมรอบข้าง รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนชิ้นงานได้ตามคาแนะนาและความต้องการของสังคมในขณะนั้นได้


 -มีความรับผิดชอบในหน้าที่ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและสามารถนาชิ้นงานไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นที่เป็นสมาชิกในสังคม





สรุปพัฒนาการหลักของหลักสูตรการศึกษาไทย


สรุปพัฒนาการหลักของหลักสูตรการศึกษาไทย

     ความเป็นมาของการศึกษาไทยช่วยให้เห็นพัฒนาการด้านการศึกษาเป็นสำคัญ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ       การจัดการศึกษาจะต้องสนองต่อความต้องการของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง ในที่นี้ได้เสนอพัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาไทยตั้งแต่พุทธศักราช 2503, 2521, 2533, 2544 และ 2551 ดังนี้         
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียนจนอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นอย่างน้อย ในการจัดการศึกษานั้นเพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ  เนื้อหาสาระที่จัดในระดับประถมศึกษาตอนต้น มี           6 หมวดใหญ่ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ศิลปศึกษา พลานามัย สำหรับระดับประถมศึกษาตอนปลายเพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษและหัตถศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสายสามัญและสายอาชีพต้องเรียนเลขคณิตและพืชคณิตตลอดทั้ง 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 3 แผนก คือ แผนกทั่วไป วิทยาศาสตร์ และศิลปะ หลังจากนั้นการศึกษาไทยได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 เนื่องจากความไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การศึกษาไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เป็นการศึกษาแพ้คัดออก คนมีโอกาสเรียนในระดับสูงน้อยมากมาก                                                                                              
         หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้มีความรู้ความสามารถ         มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ  เนื้อหาสาระที่เรียนมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต กลุ่มลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เนื้อหาสาระมี5 กลุ่ม กลุ่มทักษะในหลักสูตร 2521 เปลี่ยนเป็นกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือ        การเรียนรู้ และเพิ่มกลุ่มประสบการณ์พิเศษ ส่วนหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาต่อให้สามารถทำประโยชน์เพื่อสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เนื้อหาสาระที่เรียนประกอบด้วยวิชาบังคับแกน(ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา) วิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรี และกิจกรรม          จากการใช้หลักสูตรดังกล่าวไม่สามารถส่งเสริมให้สังคมไทยก้าวไปสู่ส่งคมความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ได้ทันการณ์ ไม่สะท้อนความต้องการของท้องถิ่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนไปใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544                                                                                                       
       หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี            มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ แบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น สาระ  การเรียนรู้มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จากการใช้หลักสูตรพบว่ามีความสับสนใน          ผู้ปฏิบัติการในสถานศึกษา หลักสูตรแน่นเกินไป ปัญหาในการเทียบโอน และปัญหาคุณภาพผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จึงเปลี่ยนมาใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยเพิ่มสมรรถสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ส่วนเนื้อหาสาระยังคงใช้ 8 กลุ่มสาระเหมือนหลักสูตร 2544 แต่หลักสูตรกำหนดตัวชี้วัดมาให้ ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้นเพิ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมด้วย สรุปได้ว่าหลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนไปเพื่อแก้ไขปัญหาการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดทําขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานําไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผล การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  ที่กล่าวถึง ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10  เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาประเทศพื้นฐานในการดำรงชีวิต  การพัฒนาสมรรถนะและทักและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ  นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติแต่ยังคงยึดมาตรฐานการเรียนรู้และหลักการเดิม
 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เปลี่ยนแปลงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2544  ซึ่งกําหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตดี มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลก ให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร 




วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การบันทึกการเรียนรู้



           Learning log
In Class : 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
            ในคาบเรียนของวันนี้อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ ได้อธิบายเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช  ๒๕๕๑โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วิสัยทัศน์
            หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้
          1.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
          2.เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
           3.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
           4.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัด           การเรียนรู้
           5.เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
           6.เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์ 
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
                        สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
2.  ซื่อสัตย์สุจริต
3.  มีวินัย
4. ใฝ่เรียนรู้
5. อยู่อย่างพอเพียง
6.  มุ่งมั่นในการทำงาน
7.  รักความเป็นไทย
8.  มีจิตสาธารณะ
Out Class : 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
             สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
             1. ความสามารถในการสื่อสาร คือความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อัน จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม ซึ่งสอดคล้องกับ ICT Literacy
              2. ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ Learning Thinking Skills
               3. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ Life skill
                4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น สอดคล้องกับ Life skill
                5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม สอดคล้องกับ ICT Literacy
              

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึการเรียนรู้นอกชั้นเรียน

วันที่ 30มิถุนายน 2556 กระผมได้รวมกลุ่มกับสมาชิกในกลุ่มศึกษาหัวข้องานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งกระผมก็สามารถสรุปได้ดังนี้

แนวความคิดจิตวิทยา (อังกฤษ: psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) , กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) , อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม
โครงสร้างของจิตวิทยา
จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1.            ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
2.            เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่
การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม
1.            การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
2.            การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา
3.            สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น

ความมุ่งหมายและประโยชน์ มีดังนี้
1.            จุดมุ่งหมาย จิตวิทยาการศึกษาเน้นในเรื่องของการเรียนรู้ และการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ตรงกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างแท้จริง จุดมุ่งหมายนี้ต้องครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความคิด ด้านอารมณ์ และด้านการปฏิบัติ
2.            ด้านการเรียนการสอน ช่วยให้ครูเข้าใจเด็ก สามารถจัดการสอนให้สอดคล้องกับความ ต้องการ สนใจความถนัดเชาวน์ปัญญาของเด็ก
3.            ด้านสังคม ช่วยให้ครู นักเรียน เข้าใจตนและผู้อื่น ปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง
4.            ปกครองและการแนะแนว ให้ครูเข้าใจเด็กมากขึ้น อบรมแนะนำ ควบคุมดูแลในเด็กอยู่ในระเบียบ เสริมสร้างบุคลิกภาพ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนรู้ในแบบ Learning by doing ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ แนวคิดนี้จะจัดการสอนแบบโครงการ (Project-based learning) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ผู้เรียนได้ทดลองทำปฏิบัติ เสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล พิจารณาหาข้อสรุป ค้นคว้าหาวิธีการ กระบวนการด้วยตนเอง หรือร่วมกันเป็นกลุ่ม เน้นให้ผู้เรียนมีอิสระในการศึกษาหาความรู้ตามหลักประชาธิปไตยให้ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น ให้ได้ค้นคว้าหาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่าง ๆ มิใช่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ทำให้ผู้เรียนเกิดนิสัยการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้ด้วยความมั่นใจ ผลการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีประสบการณ์ของจอห์น ดิวอี้ ดังนี้ 
1. ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานโดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย และสื่อที่เร้าความสนใจ 
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ตามความถนัดและศักยภาพด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติฝึกทักษะจนถึงการเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เกิดความเชื่อมั่นเป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน 
3. กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทำงาน เช่น มีการวางแผนการทำงาน มีความรับผิดชอบ เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีวินัยในตนเอง มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนที่เรียนรู้ช้าจะเรียนรู้อย่างมีความสุข มีชีวิตชีวา ได้รับกำลังใจและได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อน ทำให้เกิดความมั่นใจ ผู้เรียนที่เรียนดีจะได้แสดงความสามารถของตนเอง มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และแบ่งปันสิ่งที่ดีให้แก่กัน 
4. ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรมและการค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของผู้สอนและเพื่อน ๆ สามารถค้นหาคำตอบและวิธีการได้ด้วยตนเอง สามารถแสดงออกได้ชัดเจนมีเหตุผล 
5. ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองอยู่ตลอดเวลา 
6. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน โดยให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน ไม่นำผลงานของผู้เรียนมาเปรียบเทียบกัน มุ่งให้ผู้เรียนแข่งขันกับตนเองและไม่เล็งผลเลิศจนเกินไป 
7. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน คือ ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข เกิดการพัฒนารอบด้าน มีอิสระที่จะเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม 

วิลเลียมเจมส์ : นักคิดแห่ง ทฤษฎี ปฏิบัตินิยม

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg9XN8DP4r2ljL8QJHMXGDJWkVgv9BLzM1GZybUgQNhEWIdNG1_D1Iab1ViP5lSDEp4Xr-Ld4WBBqOf9T6RfmKgfrOzaYVs7u44hXNFWA74AuHoIoi24Z58sSBtEX71i_N3tNd2RB4zu0Q/s320/logo+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhw2WuEUJ4q5Z5X9qvRJCZpVXl-AiV06DK7bTknRGW0OJUID71R1Venrettzy52ga86gtpq3Rz9mXmbJ5L-hlex8QfIMBT4jvUNTPDnBcbDICv1VhIwxGoeH8SERWWkY-7K_-GftlY0Zpg/s320/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1+%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C.jpg
"อย่าหวาดกลัวชีวิต จงเชื่อมั่นว่า ชีวิตมีค่าควรแก่การดำรงอยู่แล้ว ความเชื่อของคุณ จะช่วยให้เป็นจริงตามนั้น"

เมื่อมนุษย์พยายามหาสิ่งอื่นทดแทนสิ่งเหนือธรรมชาติ จึงเกิดความขัดแย้งในทางความคิด
ซึ่ง ณ จุดนี้เองทำให้ความคิดแบบวิทยาศาสตร์เริ่มเจริญขึ้น ความคิดแบบเทวนิยมค่อย ๆ เสื่อมลง
จอห์น ดิวอี้ เชื่อว่า สิ่งเดียวที่มนุษย์สามารถทำได้คือ การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ
 และใช้สติปัญญาของตนจัดการ แกไขสถานการณ์นั้น เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นมา
 ขณะเดียวกันเราไม่สามารถคาดหมายหรือทำนายว่าความสำเร็จในอนาคตนั้นจำเป็นต้องเกิดขึ้น
 วิลเลียมเจมส์ เชื่อว่า ความคิดทั้งหลายทางปรัชญาสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ให้ผลได้จริงในประสบการณ์ของเราในอนาคต
 คำว่า “เชิงปฏิบัติ (Pratical)” เขาหมายถึงสิ่งที่จับต้องได้ มีลักษณะเป็นสิ่งเฉพาะ และมีผลตามต้องการ
 จึงตรงข้ามกับสิ่งที่เป็นนามธรรม มีลักษณะทั่วไปและไม่ก่อผล
 ทัศนะของเจมส์” ปรัชญามีหน้าที่ของตนเอง คือ การหาทางที่จะทำให้ความคิดของคนเราไป ด้วยกันได้
 ไม่ยึดมั่นในระบบใดระบบหนึ่งอย่างตายตัว
ดังนั้นเราจึงมีทางเลือกเสมอไม่ว่าจะใช้ทฤษฏีใด นอกจากนี้เขายังเชื่อว่าปฏิบัตินิยมเป็นวิธีที่ทำให้ความคิดแจ่มแจ้ง ซึ่งจะทำให้เราสามารถกำหนดรู้ ความหมายของความคิดนั้นได้
โดยการทดลองนำความคิดนั้นมาปฏิบัติ และดูผลที่ เกิดขึ้นเป็นหลักสำคัญ ปฏิบัตินิยม คล้ายกับ ประสบการณ์นิยม คือ สนใจสิ่งที่ทดสอบได้ด้วยประสาทสัมผัส เน้นเรื่องข้อเท็จจริง มุ่งไปที่การกระทำ
 เปลี่ยนแปลงทัศนคติบางอย่างของปรัชญา คือลดความเป็นนักเหตุผลนิยมที่รุนแรงลง
 วิทยาศาสตร์และอภิปรัชญาเข้าใกล้กันมากขึ้น ทฤษฏีต่าง ๆ ที่อธิบายโลกและจักรวาลถูกนำมาใช้
ไม่หยุดที่ทฤษฏีใดทฤษฏีหนึ่ง ให้ทฤษฏีทั้งหลายเป็นเครื่องมือเพื่อทำให้เข้าใจโลกธรรมชาติ

การนำปฏิบัตินิยมไปแก้ปัญหา
1. มีกระบวนการพิสูจน์ ความจริง พิสูจน์ให้เห็นจริง สามารถอธิบายได้ และก่อให้เกิดผลหรือ ประโยชน์ในประสบการณ์ของเรา
2. มีกระบวนการนำทาง ความคิดที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์แล้ว จะต้องสามารถเชื่อมโยงไปอธิบายเรื่องอื่นได้

ความรุ้ทางวิทยาศาสตร์เมื่อผ่านการพิสูจน์(ทดลอง)แล้ว สามารถใช้อธิบายเรื่องราว
หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ได้

ปฏิบัตินิยม หากเชื่อแล้ว ปรากฏว่ามีหลักฐานใหม่ หรือข้อพิสูจน์ใหม่ 
ความเชื่อเหล่านั้นก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน หากมีการค้นพ้นหลักฐาน หรือข้อพิสูจน์ใหม่ ๆ ความรู้นั้น ๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน เช่น เมื่อก่อนเราเชื่อว่าโลกแบน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการนำเสนอหลักฐานการค้นพบใหม่ ๆ ทำให้ความคิดที่ว่าโลกแบน เวลาเดินตรงไปเรื่อย ๆ อาจจะตกขอบโลก ถูกแทนที่ด้วยความรู้ใหม่ทีว่า โลกกลม 
เจมส์ มองโลกแบบพหุนิยม แต่ก็สามารถมองโลกในแง่ของความเป็นหนึ่งแบบปฏิบัตินิยม
ความเชื่อ ความศรัทธา ทางศาสนา ก็ถือเป็นวิทยาศาสตร์ คือมีการตั้งสมมุติฐาน แต่สมมุติฐานในการศรัทธาสิ่งใดนั้น ต้องอาศัยการทดลองเป็นระยะเวลานาน ไม่สามารถอ้างเหตุผลทางตรรกะมาพิสูจน์ความจริงในศาสนาได้

เจมส์ ยังคงยืนยันว่า ความหมายของ ความคิด ได้รับการค้นพบเพียง ในภาคของบทสรุปที่ เป็นไปได้เท่านั้น หากบทสรุปไม่เพียงพอ ความคิด ก็ไร้ความหมาย เจมส์ยืนยันว่า สิ่งนั้น เป็นวิธีที่ นักวิทยาศาสตร์ ใช้ในการนิยามหัวข้อ และ เพื่อทดสอบ สมมติฐานของ พวกเขา ซึ่ง อาจจะเป็น คำทำนาย ที่มีความหมาย และ ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
เจมส์เชื่อในหลักปฏิบิตนิยมมากกว่า แต่เขาก็กล่าวว่า หลักการแบบปฏิบัตินิยมจะไม่สามารถปฏิเสธสมมุติฐานใด ๆ ได้
 ถ้าผลที่เกิดจากสมมุติฐานนั้น มีประโยชน์ที่จะทำให้ชีวิตดำเนินอยู่ต่อได้
จากการศึกษากระผมได้รู้ว่าแนวความคิดจิตวิทยา คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต) กระบวนความคิดและพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์) อารมณ์บุคลิกภาพพฤติกรรมและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัวระบบการศึกษาการจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต 
  

บันทึกการเรียนรู้ในชั้นเรียน

บันทึกการเรียนรู้ในห้องเรียน

วันพฤหัสบดี ที่ 27  มิถุนายน 2556 ได้เรียนวิชาการพัฒนาหลักสูตร เป็นคาบที่ 4 อาจารย์วัยวุฒ อินทวงศ์ได้สอน  ดังนี้
หลักสูตรที่ดี
1.สามารถปรับปรุง/ยืดหยุ่นให้เหมาะสมกับสภาพต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
2.เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนการสอนได้บรรลุความมุ่งหมายที่กำหนดไว้
3.ได้รับการจัดทำ/พัฒนาจากคณะบุคคล อย่างมีส่วนร่วม
4.จัดให้ตรงตามความมุ่งหมายของการศึกษาแห่งชาติ
5.มีกิจกรรมกระบวนการ/เนื้อหาสาระบริบูรณ์ เพียงพอที่จะช่วยให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นและพัฒนาผู้เรียนได้ทุกๆด้าน
6.บอกแนวทางด้านสื่อการสอน การใช้สื่อ การวัดและประเมินผลไว้อย่างชัดเจน
7.สนองความต้องการและความสนใจ ทั้งของนักเรียนและสังคม
8.ส่งเสริมความเจริญงอกงามในตัวผู้เรียนทุกด้าน
9.ชี้แนะแนวทางให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
10.จัดทำการข้อมูลพื้นฐานอย่างรอบคอบ
11.ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
12.เนื้อหาสาระและประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับสภาพการดำรงชีวิต ของผู้เรียน ประสบการต้องเป็นสิ่งใกล้ตัว และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
13.มีการประเมินผลตลอดเวลาเป็นระยะๆ เพื่อทราบข้อบกพร่องและสามารถนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้น
14.มีแนวทางให้นักเรียนมีแนวทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสำคัญอย่างเหมาะสม
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ประโยชน์ของจุดมุ่งหมาย
·      แนวทางจัดสาระการเรียนรู้
·      แนวทางจัดประสบการณ์การการเรียนรู้
·      ผู้เรียนทราบว่าเขาจะเรียนรู้อะไรบ้าง
·      แนวทางกำหนดวิธีการวัดและประเมินผล
·      แนวทางในการบริหารโรงเรียน
ขอบข่ายของจุดมุ่งหมาย
-พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
-ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
-จิตพิสัย (Affective Domain)


จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ดี
§ สอดคล้องกับข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษา
§  ตั้งอยู่บนฐานความจริงและนำไปปฏิบัติได้
§  สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ
§  สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศชาติ
§  สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก
§  ส่งเสริมพัฒนาการเรียนบุคคลและครอบคลุมทุกด้าน
§  ความชัดเจนไม่คลุมเครือและไม่ขัดแย้งในแต่ละข้อ
§  ควรจะยืดหยุ่นได้
ความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
1.การเปลี่ยนแปลงของสังคม
2.การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ
3.การเมืองและการปกครอง
4.แนวความคิดและการศึกษาค้นคว้าทางด้านจิตวิทยา
5.ความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี
ซึ่งความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร นี้ อาจารย์ท่านได้ให้ในห้องเรียนนั้นแบ่งกลุ่มๆละเท่าๆกัน จำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งได้ให้แต่ละกลุ่มนั้นช่วยกันศึกษา อภิปรายกันภายในกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วให้ตัวแทนในกลุ่มนำเสนอให้เพื่อนต่างกลุ่มได้ทราบเกี่ยวกับกลุ่มของตัวเอง

จากการที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมดในวันนี้กระผม ก็ได้ทราบถึง หลักสูตรที่ดี จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ประโยชน์ของจุดมุ่งหมาย ขอบข่ายของจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่ดี และความจำเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ได้เป็นอย่างดี และอาจารย์ท่านได้สั่งงานให้ทำกันเป็นกลุ่มและนำเสนอในคาบหน้า