วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สรุปพัฒนาการหลักของหลักสูตรการศึกษาไทย


สรุปพัฒนาการหลักของหลักสูตรการศึกษาไทย

     ความเป็นมาของการศึกษาไทยช่วยให้เห็นพัฒนาการด้านการศึกษาเป็นสำคัญ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ       การจัดการศึกษาจะต้องสนองต่อความต้องการของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมือง ในที่นี้ได้เสนอพัฒนาการของหลักสูตรการศึกษาไทยตั้งแต่พุทธศักราช 2503, 2521, 2533, 2544 และ 2551 ดังนี้         
      หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2503 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาตามควรแก่อัตภาพ ได้รับการศึกษาอยู่ในโรงเรียนจนอายุ 15 ปีบริบูรณ์ เป็นอย่างน้อย ในการจัดการศึกษานั้นเพื่อสนองความต้องการของสังคมและบุคคลโดยให้สอดคล้องกับแผนเศรษฐกิจและแผนการปกครองประเทศ  เนื้อหาสาระที่จัดในระดับประถมศึกษาตอนต้น มี           6 หมวดใหญ่ คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาไทย ศิลปศึกษา พลานามัย สำหรับระดับประถมศึกษาตอนปลายเพิ่มหมวดวิชาภาษาอังกฤษและหัตถศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งสายสามัญและสายอาชีพต้องเรียนเลขคณิตและพืชคณิตตลอดทั้ง 3 ปี ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 3 แผนก คือ แผนกทั่วไป วิทยาศาสตร์ และศิลปะ หลังจากนั้นการศึกษาไทยได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2521 เนื่องจากความไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การศึกษาไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เป็นการศึกษาแพ้คัดออก คนมีโอกาสเรียนในระดับสูงน้อยมากมาก                                                                                              
         หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม ให้มีความรู้ความสามารถ         มีความสุข รวมทั้งเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ  เนื้อหาสาระที่เรียนมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษะ (ไทย-คณิต) กลุ่มประสบการณ์ชีวิต กลุ่มลักษณะนิสัย และกลุ่มการงานหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์เพื่อสังคมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เนื้อหาสาระมี5 กลุ่ม กลุ่มทักษะในหลักสูตร 2521 เปลี่ยนเป็นกลุ่มทักษะที่เป็นเครื่องมือ        การเรียนรู้ และเพิ่มกลุ่มประสบการณ์พิเศษ ส่วนหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษาต่อให้สามารถทำประโยชน์เพื่อสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เนื้อหาสาระที่เรียนประกอบด้วยวิชาบังคับแกน(ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา พลานามัย และศิลปศึกษา) วิชาบังคับเลือก วิชาเลือกเสรี และกิจกรรม          จากการใช้หลักสูตรดังกล่าวไม่สามารถส่งเสริมให้สังคมไทยก้าวไปสู่ส่งคมความรู้ในยุคโลกาภิวัตน์ได้ทันการณ์ ไม่สะท้อนความต้องการของท้องถิ่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติจึงเปลี่ยนไปใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544                                                                                                       
       หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 มีจุดมุ่งหมายมุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี            มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ แบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ช่วงชั้น สาระ  การเรียนรู้มี 8 กลุ่มสาระ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จากการใช้หลักสูตรพบว่ามีความสับสนใน          ผู้ปฏิบัติการในสถานศึกษา หลักสูตรแน่นเกินไป ปัญหาในการเทียบโอน และปัญหาคุณภาพผู้เรียนในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จึงเปลี่ยนมาใช้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยเพิ่มสมรรถสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ส่วนเนื้อหาสาระยังคงใช้ 8 กลุ่มสาระเหมือนหลักสูตร 2544 แต่หลักสูตรกำหนดตัวชี้วัดมาให้ ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้นเพิ่มกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมด้วย สรุปได้ว่าหลักสูตรการศึกษาเปลี่ยนไปเพื่อแก้ไขปัญหาการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 จัดทําขึ้นเพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานระดับท้องถิ่นและสถานศึกษานําไปเป็นกรอบและทิศทางพัฒนาหลักสูตรและจัดการเรียนการสอน จากข้อค้นพบในการศึกษาวิจัยและติดตามผล การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  ที่กล่าวถึง ประกอบกับข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10  เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาคนในสังคมไทย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการในการพัฒนาเยาวชนสู่ศตวรรษที่ จึงเกิดการทบทวนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีความเหมาะสม ชัดเจน ทั้งเป้าหมายของหลักสูตรในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาประเทศพื้นฐานในการดำรงชีวิต  การพัฒนาสมรรถนะและทักและกระบวนการนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา โดยได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  คุณลักษณะอันพึงประสงค์  มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพื่อใช้เป็นทิศทางในการจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนในแต่ละระดับ  นอกจากนั้นได้กำหนดโครงสร้างเวลาเรียนขั้นต่ำของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ในแต่ละชั้นปีไว้ในหลักสูตรแกนกลาง และเปิดโอกาสให้สถานศึกษาเพิ่มเติมเวลาเรียนได้ตามความพร้อมและจุดเน้น อีกทั้งได้ปรับกระบวนการวัดและประเมินผลผู้เรียน เกณฑ์การจบการศึกษาแต่ละระดับ และเอกสารแสดงหลักฐานทางการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ และมีความชัดเจนต่อการนำไปปฏิบัติดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการนำไปสู่การปฏิบัติแต่ยังคงยึดมาตรฐานการเรียนรู้และหลักการเดิม
 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เปลี่ยนแปลงมาจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2544  ซึ่งกําหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตดี มีความสามารถแข่งขันในเวทีโลก ให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น